วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

Beauty Fashion

Beauty Fashion


By Iain Crawford
















ดูรูปเพิ่มเติมได้ที่ http://www.adamsky.se/photographers/iain-crawford


ประวัติศาสตร์การถ่ายภาพแฟชั่น


ประวัติศาสตร์การถ่ายภาพแฟชั่น 
เขียนโดย aidan o'rourke เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการ กําเนิดภาพถ่ายแฟชั่นของแต่ละยุคสมัย ที่เกิดจากสังคม วัฒนธรรม และความขัดแย้งในช่วงแรกเริ่มของแฟชั่นนั้นยุคแรก ได้รับอิทธิพลมาจาก ภาพวาด อย่างเช่น
          งานของ Baron de meyer จะใช้เทคนิค soft focus lens คล้ายๆกับการเพ้นติ้ง รูปภาพ ในสร้างองค์ประกอบ มีการใช้ความแวววาว ของเครื่องประดับ และโลหะ มาเป็นส่วนประกอบ ของผลงาน







         ต่อมามีช่างภาพอีกคนหนึ่ง ชื่อ Steichen ซึ่งได้ริเริ่มการเอาฟรอ์มสี่เหลี่ยมมาจัดวางเป็น องค์ประกอบ โดยมองภาพออกมาเป็น bounding-box และมาการใช้แสงที่มาจากหลายทิศทางทำให้เกิดความน่าสนใจในภาพมากขึ้น





         George hoyningen-huene เป็นช่างภาพที่มีความโด่งดัง ในยุคนั้นเป็นอย่างมาก ซึ่งงาน ของเขาจะมาราะละเอียดเกี่ยวกับการจัดแสง และเรื่องของการจักวางองค์ประกอบ และเขายัง ได้ร่วมงานกับนิตยสาร Harper's Bazaarด้วย และเขายังมีเพื่อนที่ชื่อ horst p horst เป็น ช่างภาพเช่นเดียวกัน ซึ่ง มีการนําท่าทางของงานประติมากรรมฬนยุคของกรีชมาประยุกต์ ใน งานภาพถ่าย เช่นการโพสท่าทางของนาแบบบ ก็เอามาจากท่าทางของงานประติมากรรม งาน ที่ได้ออกมาจึงดูมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว





         ต่อมาภาพหลังก็ได้มีช่างภาพที่ชื่อ Cecil Beaton ซึ่งเขาได้นําสไตล์ความ classical ของ horst เขามีไอเดียที่แปลกใหม่ในการโพสท่าของนางแบบ ซึ่งเขาใช้ความว่าเกินความเป็นจริง งานของเขาจะเน้นรูปร่าง รูปทรง เป็นทรงใหญ่ ในผลงานจึงทําให้ผลงานของเขาจะแหวกแนว ยุคก่อนๆมาก จึงทําให้ไม่เป็นที่ถูกใจของเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเขาพยายามที่จะละทิ้งรูปแบบต่างๆ ทั้งหมดที่ผ่านมา เพื่อมองหาแนวทางแห่งความเป็นจริของเขาเอง จนกระทั่งสิ้นสงครามโลก ครั้งที่สอง ทําให้งานแฟชั่งไม่ได้รับความสนใจมากนักเท่าที่ควร จนกระทั่ง Dior เข้ามาปลุก กระแสความหรูหราอีกครั้ง 





        จากนั้น Norman pakinson ได้เปลี่ยนแปลงท่าโพสแบบเดิมๆ เปลี่ยนมุมมองออกไปโดยมอง ว่าอยากเห็นมุมมองอื่นๆของสตรีซึ่งหลังสงครามโลก สตรีมีความแข็งแกร่งมากขึ้น






         หลังจากนน้ั ภาพถ่ายในยุคต่อมาจะนิยมทำภาพให้มความบิดเบี้ยวเกินจริงในชชีวิตประจำวันซึ่งคําที่เขานิยมพูดให้กับนางแบบว่า Art out หมายถึง การหยุดทําอะไรที่มันเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ได้แล้ว เป็นยุคของ neoclassicism สิ่งที่ล้าหลังจะถูกแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างจะ เต็มไปด้วยสีสันเสมอ ทําให้วงการแฟชั่นเปลี่ยนไปเป็นอย่างมาก
         ในยุคของ Post modern ก็ยังมีช่างภาพบางคนที่นําแนวความคิดเดิมมาผสมผสานกับแนว ความคิดใหม่ เช่น lillian Bassmanและ louise dahi-wolf และคนอื่นๆ ซึ่งเป็นคนสําคัญใน วงการแฟชั่น เขาเหล่านั้นได้ใช้เทคนิคการทําภาพให้เบลอ และเทคนิคของการครอปภาพ และ เรื่องของเทคนิคการใช้ฉากขาว
         สรปุเกี่ยวกับเรื่องของภาพถ่ายแฟชั่นในแต่ละยุคสมัยการถ่ายภาพแฟชั่น ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัย จนกระทั่งยุคปัจจุบันมุมมองของช่างภาพที่มีการจัดวางองค์ลงไปในรูปภาพให้สวยงาม และที่สังเกตได้รูปภาพมีความเจริญเติบโตขึ้นจนถึงขีดสุด และแต่ละยุคสัยก็จะมีการทํารูปภาพตามความคิดช่างภาพที่มีความแปลกใหม่จัดวางองค์ลงไปในรูปภาพให้สวยงาม และที่สังเกตได้รรูปภาพมีความเจริญเติบโตขึ้นจนถึงขีดสุด และแต่ละยุคสัยก็จะมีการทํารูปภาพตามความคิดช่างภาพที่มีความแปลกใหม่

อ้างอิงข้อมูลจาก http://fotofofa.net/sites/default/files/paper%20fashion%20history%20.pdf




วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

POP SURREALISM


 พ็อพ อาร์ต,ศิลปะประชานิยม
Pop Art 

 pop-art
กลางคริสต์ทศวรรษ 1950-ปลาย 1960
         พ็อพ อาร์ต เป็นศิลปะที่เฉลิมฉลองวัฒนธรรมพ็อพ (พ็อพพูลาร์ คัลเจอร์) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมระดับมหาชน ที่ถูกจัดว่าเป็นวัฒนธรรมหรือศิลปะระดับล่าง โดยมีศิลปะชั้นสูงเป็นขั้วตรงกันข้าม ศิลปะชั้นสูงที่ว่านี้คือ บรรดางานศิลปะที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นของดีมีคุณภาพ แต่ละชิ้นมีความเป็นต้นแบบต้นฉบับ มีเพียงหนึ่งเดียวไม่เหมือนใคร มีคุณค่าเสียจนสถาบันศิลปะหรือสถาบันระดับรัฐต้องซื้อเก็บสะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์ของประเทศชาติ  ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1940-1950 แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (Abstract Expressionism) กระเสือกกระสนแสวงหาชื่อเสียงและการยอมรับ จนกระทั่งนักวิจารณ์ยกย่อง พิพิธภัณฑ์ซื้องานเพื่อเปิดแสดง แต่ชาวบ้านไม่เข้าใจ ภาพเขียน แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ กลายเป็นศิลปะสมัยใหม่ชั้นสูง เป็นสิ่งที่จำกัดอยู่ในชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางที่มีการศึกษาดี เป็นของจำเพาะสำหรับคนในวงการศิลปะ  ตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมพ็อพ ที่เป็นวิถีปฏิบัติและรสนิยมแบบตลาดดาษดื่น เป็นวัฒนธรรมแห่งการเสพสินค้าที่ผลิตด้วยระบบอุตสาหกรรม มีจำนวนมากๆ ทุกชิ้นผลิตออกมาเหมือนกัน คนหมู่มากซื้อมาใช้เหมือนกันไปหมด เทียบไม่ได้กับงานฝีมือ งานสร้างสรรค์ชั้นสูง
         พ็อพ อาร์ต คือแนวศิลปะที่เป็นปฏิกริยาโต้ตอบกับศิลปะลัทธิ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ ซึ่งเน้นการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก การแสดงความเป็นส่วนตัว มีแนวงานเป็นของตัวเองและเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ แต่ พ็อพ อาร์ต กลับหยิบยืมเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด เช่น วัสดุสำเร็จรูป มานำเสนออย่างมีชีวิตชีวา งานของ พ็อพ อาร์ต มักจะมีอารมณ์ขัน ขี้เล่นและชอบเสียดสี เย้ยหยันต่อศิลปะและชีวิต
                 ต้นตอทางรูปแบบและความคิดสามารถสืบย้อนกลับไปที่กลุ่ม ดาด้า ในด้านของการใช้สินค้าบริโภค ข้าวของเครื่องใช้ (วัสดุสำเร็จรูป) อารมณ์ขันและการต่อต้านศิลปะชั้นสูง และแน่นอนว่า นีโอ-ดาด้า (Neo-Dada) ก็มีอิทธิพลต่อ พ็อพ อาร์ต ด้วยเช่นกัน ต่างกันตรงที่ นีโอ-ดาด้า นำเอาฝีแปรงเขียนภาพแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เข้ามาผสมด้วยเท่านั้น
         รูปแบบและเนื้อหาของ พ็อพ อาร์ต ไปกันได้ดีกับวิถีชีวิตอเมริกันในคริสต์ทศวรรษ 1960 ยุคที่บริโภคนิยม สินค้าอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมพ็อพกำลังเฟื่องฟูสุดขีด ทุกอย่างกลายเป็นสินค้าสำหรับซื้อขาย บ้านเมืองเต็มไปด้วยสื่อโฆษณา สิ่งพิมพ์ ภาพลักษณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจ เป็นวัฒนธรรมแบบเสพภาพและภาพลักษณ์สำหรับมองดู พ็อพ อาร์ต จึงแสดงความเป็นอเมริกันได้อย่างถึงพริกถึงขิง
         พ็อพ อาร์ต คืองานศิลปะของคนเมือง เป็นวัฒนธรรมเมืองโดยแท้ หากลองเปรียบเทียบ “เรื่อง” หรือ “หัวเรื่อง” ที่ศิลปินในโบราณชอบนำไปเขียนภาพ ศาสนา ตำนาน และประวัติศาสตร์คงเป็นหัวเรื่องยอดนิยมในอดีต ในคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้น 20 ธรรมชาติและทิวทัศน์คือแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ เรื่องราวเกี่ยวกับคนและวิถีชีวิตของคนก็เช่นกัน จิตรกรกลุ่ม อิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) เขียนภาพชีวิตคนในเมือง ปิกาสโซ (Picasso) และ มาติสส์ (Matisse) ต่างก็ทำเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและคนมาตลอดชีวิต มีแต่ พ็อพ อาร์ต นี่แหละที่มีวัฒนธรรมพ็อพในเมืองและสินค้าข้าวของต่างๆ เป็นแรงบันดาลใจ และเป็นครั้งแรกที่ศิลปินสนใจแสดงออกถึงปรัชญาของทุนนิยม บริโภคนิยมอย่างเอาจริงเอาจัง
        รูปแบบ วิธีคิด และวิธีทำงานของ พ็อพ อาร์ต ได้ส่งอิทธิพลต่อศิลปินและกระแสศิลปะในยุคต่อมาเป็นอย่างมาก ศิลปะในลัทธิหลังสมัยใหม่ หรือ โพสต์โมเดิร์นนิสม์ (Postmodernism) ที่กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในไทยขณะนี้ ก็เติบโตมาจาก พ็อพ อาร์ต นี่เอง คงจะเพราะ พ็อพ อาร์ต เล่นกับภาพลักษณ์และมีการนำเอาการ์ตูน สินค้า และสิ่งออกแบบที่คนชอบและคุ้นเคยมาใช้นั่นเอง ทำให้ พ็อพ อาร์ต เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป กลายเป็นที่ “ประชานิยม” จริงๆ ไม่ใช่แค่แนวคิดเกี่ยวกับของฮิตเท่านั้น แต่ พ็อพ อาร์ต ได้ทำให้มันเป็นของฮิตขึ้นจริงๆ เลยทีเดียว
          ในความสำเร็จของ พ็อพ อาร์ต ในด้านที่เกี่ยวกับการจัดการกับระดับสูง-ต่ำของศิลปะ อาจมองได้สามทางว่า ศิลปินกลุ่มนี้ได้นำเอาศิลปะวัฒนธรรมจากสองขั้วสูง-ต่ำมาเจอกัน หรืออาจมองได้ว่าพวกเขาได้ทำของต่ำให้สูง นำของระดับล่างมาทำให้เป็นศิลปะชั้นสูง หรือไม่ก็เป็นการทำให้ของสูงโน้มลงมาแตะดิน  เป็นการพยายามทำลายหอคอยงาช้างที่พวก โมเดิร์นนิสต์ (Modernist, Modernism) สร้างเอาไว้สูงตระหง่าน สูงขึ้นหิ้งเป็นของเฉพาะกลุ่ม แปลกแยกออกจากสังคม กลายเป็นอะไรที่เป็น “อุดมคติ” เป็นแบบแผนและแข็งตัวจนเกินไป แต่เอาเข้าจริงๆ การทำลายหอคอยงาช้างของ โมเดิร์นนิสต์ แล้วประกาศว่าเป็น โพสต์โมเดิร์น จะทำให้ชาวบ้านเข้าถึงศิลปะมากขึ้นหรือไม่ ยังคงเป็นคำถามที่ชวนคิดอยู่จนถึงทุกวันนี้   แม้ว่าโดยแนวคิดรวมๆ ของ พ็อพ อาร์ต คือ การท้าทายความคลาสิคอันสูงส่งของศิลปะประเพณีที่อยู่ในกรอบระเบียบอันเคร่งครัด และยังทำการล้อเลียนหยอกเย้ากับความเป็นปัจเจกเฉพาะตัว ละเลยความเป็นต้นฉบับที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใครตามแนวทางของ ศิลปะสมัยใหม่ (โมเดิร์น อาร์ต) แต่เอาเข้าจริงๆ ศิลปินพ็อพแต่ละคนต่างก็มีรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะไม่เหมือนศิลปินอื่นๆ (แต่ไปเหมือนงานพาณิชย์ศิลป์ที่ตัวเองไปหยิบยืมมา)
          แม้ว่าความเคลื่อนไหวของ พ็อพ อาร์ต จะมีความตื่นตัวที่สุดในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่แนวทางของ พ็อพ อาร์ต ยังคงร่วมยุคร่วมสมัยกับสังคมและวงการศิลปะในปัจจุบันเป็นอย่างดี เพราะพวกเรายังอยู่ในสังคมยุควัฒนธรรมพ็อพ หรือตามที่มีเสียงกระหึ่มดังว่าเป็นสังคมยุค หลังสมัยใหม่ (โพสต์โมเดิร์น) กันไปแล้ว

ลัทธิเซอร์เรียลลิสม์ (Surrealism) 




        ความเจริญด้านความคิด ทางลักธิของศิลปะมีส่วนให้อิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ มนุษย์ และศิลปศึกษา เป็นอันมาก ดังเช่นลักธิเซอร์เรียลลิสม์ ของกลุ่มศิลปินสมัยใหม่อีกกลุ่มหนึ่ง

         ปัจจุบัน คำว่า เซอร์เรียลลิสม์ (Surrealism) มี อโพสิแนร์ กรี และนักวิจารณ์มีชื่อชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1917 ครั้งแรกมีความมุ่งหมายเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ตอนหลังความหมายเพี้ยนไปเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับขบวนการจิตไร้สำนึก ที่เป็นไปอย่างเสรีโดยอัตโนมัติ กลายเป็นชื่อประขดสังคมไป ลักธิเซอร์เรียลลิสม์ เจริญงอกงามจากลักธิ ดาดา (Da Daism) ซึ่งเกิดขึ้นในสวิส เครชริด และแผ่ขยายไปเยอรมัน ฝรั่งเศส และอเมริกา

         เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ระเบิดขึ้น ศิลปินกลุ่มหนึ่งผู้ซึ่งไม่พอใจในการสงคราม ที่มีแต่การทำลายล้างผลาญกัน จึงรวมพลังกันประท้วงโดยสร้างศิลปะแบบ ดาดา ขึ้น เพื่อต่อต้านการสงคราม ต่อต้านการทำลาย และกฎเกณฑ์ความงามอันหลอกลวง โดยใช้วิธีหนามยอกเอาหนามบ่ง หรือ เกลือจิ้มเกลือ คือว่าแทนที่จะแสดงออกทางศิลปะให้เห็นงามกลับแสดงให้เห็นสิ่งที่น่าเกลียด ตลก หยาบโลน ทั้งนี้เพื่อเตือนให้มนุษย์ด้วยกันรู้สึกสำนึกในผลร้ายของสงครามนั้น

         ศิลปินกลุ่มนี้กล่าวว่า ความรู้สึกของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าท่านรู้สึกอย่างไร จงแสดงออกทันที อย่าสกัดกั้นเอาไว้ เพราะมันจะฝังอยู่ใต้จิตสำนึก และจะเป็นอันตรายต่อตัวท่านเอง จากคำกล่าวของลักธินี้ ทำให้ทราบว่าลักธินี้เกี่ยวข้องกับจิตไร้สำนึก ซึ่งเป็นระยะพอดีกับที่นายแพทย์ ซิกมันด์ ฟรอย์ (1856-1934) ประกาศทฤษฎีด้านจิตวิทยาอยู่ในยุโรปพอดี นับว่า ซิกมันด์ ฟรอย์ มีส่วนช่วยให้ลักธิเซอร์เรียลลิสม์ มีอิทธิพลต่อวงการมาก


ลักธิเซอร์เรียลลิสม์ มีลักษณะในการแสดงออกทางศิลปะสองด้าน คือ
1. ด้านเรื่องราว 

1.1 เป็นเรื่องราวในอดีตมีความหมายต่อศิลปิน เช่น ความผิดหวัง ความรัก ความหยิ่งผยอง ความกลัว1.2
1.2 เป็นเรี่องราวที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น การแนะนำสั่งสอนในทางลบ คล้ายกับกลุ่มดาดา


2. ด้านรูปทรงและวิธีการ
2.1 ศิลปินแสดงออกด้วยสีที่มีความเข้มปานกลาง ให้ความรู้สึกนุ่มนวลบนผิวหน้า ด้วยการเกลี่ยให้กลมกลืน
2.2 ศิลปินแสดงออกด้วยวัสดุอื่น ปนกับวัสดุที่ศิลปินผู้นั้นถนัด เช่น ทรายปนกับสีน้ำมัน กระดาษสีปนกับสีน้ำมัน
2.3 ศิลปินพยายามจะซ่อมสิ่งที่ต้องการแสดงออกด้
วยเทคนิคของการเขียน เช่น เขียนวัตถุบนกระจกใส หรือเขียนความชัดเจนของสิ่งของคลุมเรื่องที่ต้องการแสดง
2.4 ศิลปินพยายามสร้างสรรค์ แสง เงา และสีขึ้นเอง

        ศิลปะแนวเซอเรียลิสม์ มีความหมายว่า เหนือความจริง เพราะศิลปะแนวนี้ถ่ายทอดเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในความฝันออกมา ว่ากันว่า ความฝันนั้นเป็นสิ่งที่จริงแท้เสียยิ่งกว่าความจริง เป็นสุดยอดของความเป็นจริง เซอเรียลิสม์ได้วิวัฒนาการมาจากพวกดาดาอิสม์ในเรื่องราวของการมองความจริงอันพิสดาร ศิลปินมองเห็นว่าโลกความเป็นจริงที่เห็นอยู่เป็นภาพมายาทั้งหมด (แต่กลับเห็นความฝันเป็นเรื่องจริง ออกจะสับสนอย่างไรไม่รู้) นี่เป็นการเคลื่อนไหวของศิลปะแบบหนึ่ง ที่มีความคิดพ้องตามทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่ว่า มนุษย์ทุกคนอยู่ภายใต้อิทธิพลของจิตไร้สำนึก ซึ่งเราฝังความอยากอันมิได้ขัดเกลาเอาไว้ จนเกิดทำให้รู้สึกว่าความป่าเถื่อนยังมิได้หายไปจากมนุษย์ หากแต่หลบอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ
         งานเซอเรียลิสม์มีความสำคัญอยู่ที่ 
การแสดงออกของจิตใต้สำนึกอย่างอิสระ- ปราศจากการควบคุมของเหตุผล มีความฝันและอารมณ์ จินตนาการ ค่อนข้างโน้มเอียงไปในทางกามวิสัย หลักการของเซอเรียลิสม์คือ จินตนาการเป็นส่วนสำคัญของการแสดงออก จินตนาการคือจิตไร้สำนึก และจิตไร้สำนึกเป็นภาวะของความฝัน ที่มีขบวนการต่อเนื่องกันซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะได้ สิ่งที่เราเห็นจากโลกภายนอกขณะตื่น เป็นเพียงปรากฎการทางการแทรกแซงความงามของพวกเขาคือความมหัศจรรย์ ความมหัศจรรย์เพียงอย่างเดียวที่สามารถสร้างศิลปะให้สมบูรณ์ได้ และยังให้ความรู้สึกที่เต็มไปด้วยความหมายต่อความรู้สึกของมนุษย์ 

แต่เมื่อนำทั้ง 2ลัทธิก็จะเกิดงานสร้างสรรค์แบบใหม่ได้ดังรุป














อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.designer.in.th/artistic-movement/pop-art.html
                       http://www.clipmass.com/story/ลัทธิเซอร์เรียลลิสม์-surrealism---32704

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555


Fashion photo shoot




Fashion photo shoot-behind the scenes of "Hypnos" - w/ Michael David Adams

Cyanotype

Cyanotype


Cyanotype ถูกคิดค้นขึ้นประมาณกลางศตวรรษที่18 โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Sir John Herschel แต่คนที่นำวิธีนี้มาใช้กับการถ่ายภาพเป็นคนแรกคือนักพฤกษศาสตร์หญิงนามว่า Anna Atkins ซึงเธอก็คือเพื่อนของ Sir John
Herschelขั้นตอนการทำก็ไม่ยุ่งยาก ที่เราจำเป็นต้องมีคือสารเคมี2ตัวคือ Potassium ferricyanide และ Ferric ammonium citrate หาซื้อสารแบบชุดคิทที่จัดชุดสำเร็จเอาไว้ให้แล้วก็มีขาย จากนั้นเอามาผสมน้ำตามสัดส่วนที่กำหนด แล้วเก็บไว้แยกกันในภาชนะที่ป้องกันแสงได้ ( ขวดสีชา ) เมื่อเราจะใช้เมื่อไหร่ ก็เทส่วนผสมทั้ง 2 ในอัตราส่วนเท่าๆกัน  เสร็จแล้วก็ทาลงพื้นผิวที่เราต้องการจะให้เกิดภาพ แล้วรอให้แห้ง (ขั้นตอนทั้งหมดนี้ต้องทำในที่ๆไม่โดนแสงอาทิตย์ ) เท่านี้กระดาษของเราก็กลายเป็นกระดาษที่มีความไวต่อแสงอัลตร้าไวโอเลต พร้อมที่จะเอาไปอัดแล้วต่อมาก็เอาฟิล์มที่จะใช้อัดมาวางบนกระดาษ หากระจกหรือแผ่นอคริลิกใสมาทับเอาไว้ เพื่อให้แผ่นฟิล์มแนบสนิทดี เสร็จแล้วก็นำไปตากแดดประมาณ10-15นาที( ควรเลือกทำในวันแดดดีๆ ) สังเกตุดูว่าน้ำยาที่ผสมจากที่เป็นสีเขียวอ่อนๆจะเริ่มเป็นสีน้ำเงินเข้มๆขึ้นมา นั่นแสดงว่าเราปล่อยให้มันทำปฏิกริยาจนได้ที่แล้ว
เสร็จแล้วก็นำกระดาษที่เราตากเสร็จแล้วกลับเข้าไปในที่ๆไม่โดนแดด ล้างน้ำยาออกให้หมด สังเกตดูว่าส่วนที่ไม่โดนแสงอาทิตย์( ส่วนที่เป็นสีทึบบนฟิล์ม ) จะยังคงเป็นสีเขียวอ่อนของน้ำยาอยู่ เราก็เปิดน้ำใส่กระดาษจนกว่าจะเห็นว่าสีเขียวนั้นจางหายไปหมดเหลือแต่สีขาว
เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว ที่กระดาษก็จะหลงเหลือส่วนที่โดนแสงแดดเป็นสีฟ้าเข้ม ส่วนไหนที่ไม่โดนแดดก็จะเป็นสีขาวของกระดาษไป ที่เหลือก็คือเอากระดาษไปตากจนแห้ง แล้วหาอะไรหนักๆมาทับเพื่อให้กระดาษเรียบ เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ

ตัวอย่างภาพจากกระบวนการ Cyanotype