วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555
Cyanotype
Cyanotype
Cyanotype ถูกคิดค้นขึ้นประมาณกลางศตวรรษที่18 โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Sir John Herschel แต่คนที่นำวิธีนี้มาใช้กับการถ่ายภาพเป็นคนแรกคือนักพฤกษศาสตร์หญิงนามว่า Anna Atkins ซึงเธอก็คือเพื่อนของ Sir John
Herschelขั้นตอนการทำก็ไม่ยุ่งยาก ที่เราจำเป็นต้องมีคือสารเคมี2ตัวคือ Potassium ferricyanide และ Ferric ammonium citrate หาซื้อสารแบบชุดคิทที่จัดชุดสำเร็จเอาไว้ให้แล้วก็มีขาย จากนั้นเอามาผสมน้ำตามสัดส่วนที่กำหนด แล้วเก็บไว้แยกกันในภาชนะที่ป้องกันแสงได้ ( ขวดสีชา ) เมื่อเราจะใช้เมื่อไหร่ ก็เทส่วนผสมทั้ง 2 ในอัตราส่วนเท่าๆกัน เสร็จแล้วก็ทาลงพื้นผิวที่เราต้องการจะให้เกิดภาพ แล้วรอให้แห้ง (ขั้นตอนทั้งหมดนี้ต้องทำในที่ๆไม่โดนแสงอาทิตย์ ) เท่านี้กระดาษของเราก็กลายเป็นกระดาษที่มีความไวต่อแสงอัลตร้าไวโอเลต พร้อมที่จะเอาไปอัดแล้วต่อมาก็เอาฟิล์มที่จะใช้อัดมาวางบนกระดาษ หากระจกหรือแผ่นอคริลิกใสมาทับเอาไว้ เพื่อให้แผ่นฟิล์มแนบสนิทดี เสร็จแล้วก็นำไปตากแดดประมาณ10-15นาที( ควรเลือกทำในวันแดดดีๆ ) สังเกตุดูว่าน้ำยาที่ผสมจากที่เป็นสีเขียวอ่อนๆจะเริ่มเป็นสีน้ำเงินเข้มๆขึ้นมา นั่นแสดงว่าเราปล่อยให้มันทำปฏิกริยาจนได้ที่แล้ว
Cyanotype ถูกคิดค้นขึ้นประมาณกลางศตวรรษที่18 โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Sir John Herschel แต่คนที่นำวิธีนี้มาใช้กับการถ่ายภาพเป็นคนแรกคือนักพฤกษศาสตร์หญิงนามว่า Anna Atkins ซึงเธอก็คือเพื่อนของ Sir John
Herschelขั้นตอนการทำก็ไม่ยุ่งยาก ที่เราจำเป็นต้องมีคือสารเคมี2ตัวคือ Potassium ferricyanide และ Ferric ammonium citrate หาซื้อสารแบบชุดคิทที่จัดชุดสำเร็จเอาไว้ให้แล้วก็มีขาย จากนั้นเอามาผสมน้ำตามสัดส่วนที่กำหนด แล้วเก็บไว้แยกกันในภาชนะที่ป้องกันแสงได้ ( ขวดสีชา ) เมื่อเราจะใช้เมื่อไหร่ ก็เทส่วนผสมทั้ง 2 ในอัตราส่วนเท่าๆกัน เสร็จแล้วก็ทาลงพื้นผิวที่เราต้องการจะให้เกิดภาพ แล้วรอให้แห้ง (ขั้นตอนทั้งหมดนี้ต้องทำในที่ๆไม่โดนแสงอาทิตย์ ) เท่านี้กระดาษของเราก็กลายเป็นกระดาษที่มีความไวต่อแสงอัลตร้าไวโอเลต พร้อมที่จะเอาไปอัดแล้วต่อมาก็เอาฟิล์มที่จะใช้อัดมาวางบนกระดาษ หากระจกหรือแผ่นอคริลิกใสมาทับเอาไว้ เพื่อให้แผ่นฟิล์มแนบสนิทดี เสร็จแล้วก็นำไปตากแดดประมาณ10-15นาที( ควรเลือกทำในวันแดดดีๆ ) สังเกตุดูว่าน้ำยาที่ผสมจากที่เป็นสีเขียวอ่อนๆจะเริ่มเป็นสีน้ำเงินเข้มๆขึ้นมา นั่นแสดงว่าเราปล่อยให้มันทำปฏิกริยาจนได้ที่แล้ว
เสร็จแล้วก็นำกระดาษที่เราตากเสร็จแล้วกลับเข้าไปในที่ๆไม่โดนแดด ล้างน้ำยาออกให้หมด สังเกตดูว่าส่วนที่ไม่โดนแสงอาทิตย์( ส่วนที่เป็นสีทึบบนฟิล์ม ) จะยังคงเป็นสีเขียวอ่อนของน้ำยาอยู่ เราก็เปิดน้ำใส่กระดาษจนกว่าจะเห็นว่าสีเขียวนั้นจางหายไปหมดเหลือแต่สีขาว
เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว ที่กระดาษก็จะหลงเหลือส่วนที่โดนแสงแดดเป็นสีฟ้าเข้ม ส่วนไหนที่ไม่โดนแดดก็จะเป็นสีขาวของกระดาษไป ที่เหลือก็คือเอากระดาษไปตากจนแห้ง แล้วหาอะไรหนักๆมาทับเพื่อให้กระดาษเรียบ เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ
ตัวอย่างภาพจากกระบวนการ Cyanotype
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)